รายงานข่าวจากคณะกรรมการภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า วันศุกร์ที่ 23 ธ.ค.นี้ กกร.เตรียมนำผู้ประกอบการทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้า การบริการทั้งหมด จะร่วมกันเปิดแถลงข่าวใหญ่ถึงผลกระทบการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ประจำงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.66 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม การค้า การเกษตร การบริการทั้งหมด ทั้งกิจการขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โรงแรม กิจการไม่แสวงหากำไร สูบน้ำเพื่อการเกษตร ไฟฟ้าชั่วคราวระหว่างก่อสร้าง ที่อัตรา 190.44 สตางค์ต่อหน่วย จะมีค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วยงวดใหม่ เนื่องจากกระทบต่อขีดความสามารถ และระบบเศรษฐกิจไทยอย่างมาก
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า วันที่ 21 ธ.ค.65 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เพื่อขอบรรเทาค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือเอฟที หลังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศอัตราค่าไฟฟ้า ประเภทอื่น ที่ไม่ใช่กลุ่มบ้านที่อยู่อาศัย รวมอยู่ที่อัตรา 5.69 บาทต่อหน่วย ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการต้องปรับราคาสินค้ากระทบประชาชน และขอเข้าพบ เพื่อชี้แจงรายละเอียดผลกระทบ และเสนอแนวทางออก
ทั้งนี้ กกร.เตรียมเสนอขอให้รัฐบาลพิจารณาข้อเสนอบรรเทาภาระผู้ประกอบการจากการปรับอัตราค่าไฟฟ้า 5 ประเด็น คือ ตรึงราคาค่าไฟฟ้าในกลุ่มบ้านอยู่อาศัย ต้องไม่ผลักภาระต้นทุนส่วนเพิ่มมาให้เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนที่เหลือ แต่ภาครัฐควรหางบประมาณจากส่วนอื่นมาช่วยเหลือกลุ่มบ้านอยู่อาศัยแทน, ขยายเพดานหนี้ 2 ปี ให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยการเพิ่มเพดานเงินกู้เฉพาะกิจ จัดสรรวงเงินให้ยืม และชะลอการส่งเงินรายได้เข้าคลัง เนื่องจากภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าที่ กฟผ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ รับภาระแทนประชาชนไปก่อนนั้น เป็นการสมควรและอยู่ในวิสัยที่ภาครัฐจะบริหารจัดการให้ กฟผ. สามารถเพิ่มการรับภาระได้มากขึ้น และยาวนานขึ้นได้มากกว่า 2 ปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ ควรปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า ขอให้ปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติแบบขั้นบันได เพื่อลดผลกระทบต่อผู้ประกอบการและการนำค่าไฟฟ้าส่วนเพิ่มครั้งนี้ มาหักค่าใช้จ่ายหรือลดหย่อนภาษีได้ 2-3 เท่า เพื่อแบ่งเบาภาระให้ผู้ประกอบการ และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัวหรือบริหารจัดการพลังงานเช่น การปรับกระบวนการผลิตให้มาใช้ไฟฟ้าในช่วงไฟฟ้ามีราคาถูก หรือออฟพีคมากขึ้น, ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองให้มากขึ้น โดยเน้นการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นการชั่วคราวในช่วงวิกฤติพลังงาน และสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนเกินกลับให้การไฟฟ้า และสุดท้ายมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในด้านพลังงานให้มากขึ้น เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐ และเอกชนด้านพลังงาน (กรอ.ด้านพลังงาน)
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กกร.ได้ยื่นหนังสือขอพบนายกรัฐมนตรี เพราะมีความห่วงใยโดยเฉพาะบรรยากาศการลงทุนจากนักลงทุนต่างประเทศ เพื่อจะฟื้นฟูเศรษฐกิจในปี 66 เนื่องจากค่าพลังงานเป็นต้นทุนในการผลิตการส่งออกสินค้า ซึ่งทราบดีว่า ทุกคนจำเป็นต้องปรับตัว ประหยัดการใช้ไฟฟ้า โดย กกร.พร้อมนำข้อมูลที่ได้รวบรวม และวิเคราะห์จากผู้ใช้ไฟฟ้านำไปหารือกับนายกรัฐมนตรีเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุด เชื่อว่า นายกรัฐมนตรีจะกรุณารับฟังความเห็นจากภาคเอกชน และทบทวนว่า จะพิจารณาช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าได้อย่างไร และร่วมกันหาทางออกที่ทุกภาคส่วนได้ประโยชน์สูงสุด